ประวัติความเป็นมา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ รับผิดชอบจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และการศึกษา โดยขึ้นตรงต่อรองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ ในระยะที่ยังเป็นวิทยาลัยครูเชียงใหม่ คณะได้จัดรูปแบบการบริหารงานวิชาการ เรียกว่า หมวดวิชา เช่น หมวดวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาสังคมศึกษา และหมวดวิชาศิลปะ เป็นต้น ในการบริหารงานมีหัวหน้าหมวดวิชาเป็นผู้บริหารงานและขึ้นตรงต่อรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ รับผิดชอบจัดการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) และประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 ตลอดมา

พ.ศ. 2518 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ.2518 มีผลให้การบริหารของวิทยาลัยครูทุกแห่งขึ้นกับสภาการฝึกหัดครู
ในปี พ.ศ.2519 ได้มีประกาศให้ใช้หลักสูตร การฝึกหัดครูของสถาบันการฝึกหัดครู และในปีเดียวกันนี้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้เปิดสอนระดับปริญญาตรีวิชาเอกภาษาไทย จากการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ก่อตั้งคณะวิชาขึ้นในปีพ.ศ. 2520 โดยรวมหมวดวิชาต่าง ๆ ที่มีอยู่เดิม และเรียกชื่อเป็นภาควิชาและโปรแกรมวิชา
มีหัวหน้าคณะวิชาและหัวหน้าภาคเป็นผู้บริหาร ประกอบด้วย 11 ภาควิชา และ 2 โปรแกรมวิชา ดังนี้
1. ภาควิชาดนตรี
2. ภาควิชานาฏศิลป์
3. ภาควิชาบรรณารักษ์
4. ภาควิชาปรัชญาและศาสนา
5. ภาควิชาประวัติศาสตร์
6. ภาควิชาภาษาไทย
7. ภาควิชาภาษาอังกฤษ
8. ภาควิชาภูมิศาสตร์
9. ภาควิชารัฐศาสตร์
10. ภาควิชาศิลปะ
11. ภาควิชาสังคมวิทยา
12. โปรแกรมวิชาวัฒนธรรมศึกษา*
13. โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
*หมายเหตุ รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนวิชาเอกวัฒนธรรมศึกษาและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวซึ่งเป็นสหวิทยาการ ดำเนินงานโดยคณะกรรมการซึ่งมาจากภาควิชาที่เกี่ยวข้อง
พ.ศ.2538 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ มีผลทำให้มี การเปลี่ยนชื่อจาก วิทยาลัยครูเชียงใหม่ เป็นสถาบันราชภัฏเชียงใหม่ พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการบริหารงานคณะวิชา โดยเรียกชื่อใหม่ว่า คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ยกเลิกการบริหารแบบภาควิชาเป็นการบริหารแบบโปรแกรมวิชา มีคณบดีเป็นผู้บริหารคณะ และประธานโปรแกรมวิชา เป็นผู้บริหารโปรแกรมวิชา ประกอบด้วย 16 โปรแกรมวิชา และ 4 หมู่วิชา ดังนี้ โปรแกรมวิชาพัฒนาชุมชน โปรแกรมวิชาดนตรี โปรแกรมวิชานาฏศิลป์ โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ โปรแกรมวิชาภาษาจีน โปรแกรมวิชาภาษาญี่ปุ่น โปรแกรมวิชาภาษาไทย โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ (ค.บ.) โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ (ศศ.บ.) โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ โปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ โปรแกรมวิชาวัฒนธรรมศึกษา โปรแกรมวิชาศิลปกรรม โปรแกรมวิชาศิลปศึกษา โปรแกรมวิชาสังคมศึกษา โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หมู่วิชาภาษาฝรั่งเศส หมู่วิชาปรัชญาและศาสนา หมู่วิชาประวัติศาสตร์ หมู่วิชาภูมิศาสตร์ หมายเหตุ โปรแกรมวิชารับผิดชอบจัดการเรียนการสอนวิชาเอกและ วิชาพื้นฐานทั่วไป ส่วนหมู่วิชารับผิดชอบการเรียนการสอนรายวิชาพื้นฐานทั่วไป พ.ศ. 2542 ได้มีการปรับเปลี่ยนการบริหารงานภายในคณะอีกครั้งหนึ่ง โดยลดและเพิ่มจำนวนโปรแกรมวิชา เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารและเพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารหลักสูตรที่พัฒนาใหม่และในปี
พ.ศ. 2547 ได้เปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทย หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ
พ.ศ. 2549 มีการกำหนดสาขาวิชาภายในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และแบ่งออกเป็น 2 ภาควิชา ดังนี้
1. ภาควิชามนุษยศาสตร์ มี 11 สาขาวิชา ดังนี้
1.1 สาขาวิชาภาษาไทย
1.2 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
1.3 สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
1.4 สาขาวิชาภาษาจีน
1.5 สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
1.6 สาขาวิชาภาษาเกาหลี
1.7 สาขาวิชาดนตรี
1.8 สาขาวิชาศิลปกรรม
1.9 สาขาวิชาศิลปะการแสดง
1.10 สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์
1.11 สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา
2. ภาควิขาสังคมศาสตร์ มี 6 สาขาวิชา ดังนี้
2.1 สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
2.2 สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน
2.3 สาขาวิชานิติศาสตร์
2.4 สาขาวิชาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
2.5 สาขาวิชาภูมิศาสตร์
2.6 สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ได้เปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาเพิ่มอีก จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ และหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ในปี พ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยได้ออกประกาศเรื่อง การจัดตั้งสาขาวิชาในภาควิชาหรือคณะ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ทำให้คณะปรับเปลี่ยนสาขาวิชาภายในคณะให้เป็นไปตามประกาศมีการกำหนดสาขาวิชาภายในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์อีกครั้งและแบ่งออกเป็น 2 ภาควิชา ดังนี้
ภาควิชามนุษยศาสตร์
- สาขาวิชาภาษาไทย
- สาขาวิชาภาษาตะวันออก
- สาขาวิชาภาษาจีน
- สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
- สาขาวิชาภาษาเกาหลี
- สาขาวิชาภาษาตะวันตก
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
- สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
- สาขาวิชาดนตรีและศิลปะการแสดง
- สาขาวิชาดนตรี
- สาขาวิชาศิลปะการแสดง
- สาขาวิชาศิลปกรรม
- สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์
ภาควิชาสังคมศาสตร์
- สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน
- สาขาวิชาภูมิศาสตร์
- สาขาวิชาสหวิทยาการสังคม
- สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- สาขาวิชาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
- สาขาวิชานิติศาสตร์